วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ปะการัง ( Coral )




ปะการัง เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งจัดอยู่ในประเภทสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ( ที่มีกระดูกสันหลังคือปลาต่างๆ ) ปะการังมีมากมายหลายชนิดมีทั้งปะการังแข็ง ปะการังอ่อน หลากสีสันและหลากหลายรูปร่างเช่นปะการังเขากวาง ปะการังดอกเห็ด และอีกมากมาย ประเทศไทยเรามีปะการังมากมายเพราะประเทศเราอยู่เขตร้อน ปะการังอยู่ได้เฉพาะเขตร้อนและใกล้เขตร้อนที่อุณหภูมิของน้ำไม่ต่ำกว่า 18 องศาเซลเซียส ดังนั้นประเทศในเขตหนาวจึงไม่มีปะการัง นักท่องเที่ยวต่างประเทศจึงมาเที่ยวเมืองไทยเพื่อมาดำน้ำดูปะการังสวยๆ ดูสิ่งมีชีวิตมากมายในแนวปะการัง ทะเลฝั่งอันดามันของเรามีปะการังที่สวยงามอย่างเช่นเกาะสิมิลันที่มีความสวยงามใต้น้ำติดอันดับโลก ความสวยงามใต้น้ำที่ว่านั้นก็คือปะการังนั่นเอง ปะการังเป็นทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลที่สำคัญ เป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์น้ำ เป็นแหล่งอาหารเพื่อการเจริญเติบโต เป็นแหล่งเพราะพันธุ์และวางไข่ เป็นแหล่งหลบภัยของสัตว์น้ำต่างๆ ดังนั้นปะการังจึงเป็นเหมือนผู้ผลิตและเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในทะเล แต่สำหรับนักท่องเที่ยวแล้วปะการังเป็นสิ่งวิเศษสุดสำหรับความสวยงามของโลกใต้ทะเล ที่ใดมีปะการังอุดมสมบูรณ์ที่นั่นย่อมมีสิ่งมีชีวิตหลากหลาย มีปลาสวยๆ ที่มาอาศัยหลบภัยและหากินตามแนวปะการัง มีกุ้งสวยๆ ให้เราได้ชมมาเรียนรู้เรื่องปะการังกับนีโมทัวร์กันครับ
ปะการัง ( Coral ) เมื่ออยู่รวมกันในบริเวณหนึ่งเราเรียกว่าแนวปะการัง ( Reef ) ก็เหมือนกับต้นไม้แหล่ะครับ เมื่ออยู่ต้นเดียวเราเรียกต้นไม้ เมื่อมีอยู่รวมกันมากๆ เราเรียกว่าป่า ดังนั้นแนวปะการังก็เปรียบเสมือนเป็นป่าแห่งท้องทะเล แนวปะการังในท้องทะเลไทยมีหลายแบบคือ
1. แนวปะการังริมฝั่ง ( fringing reef )
เกิดจากสะสมหินปูนอันเกิดจากโครงสร้างของปะการังแข็งที่ทับถมกันเรื่อยมาจนก่อเกิดเป็นแนวหินปะการัง แนวปะการังริมฝั่งแบ่งเป็น 3 เขตตามลักษณะของชายฝั่งดังภาพข้างล่าง คือ บริเวณแนวราบชายฝั่งบริเวณน้ำตื้น - บริเวณแนวสันที่เป็นจุดเปลี่ยนระหว่างน้ำตื่นและน้ำลึก - บริเวณแนวลาดชันเป็นส่วนที่ลาดลงสู่ระดับน้ำลึก ไปจนสุดเขตนอกแนวปะการัง บริเวณที่น้ำลึกมากๆ จะไม่มีปะการังทั้งนี้เนื่องจากปริมาณแสงแดดที่ส่งไปถึงพื้นมีน้อย

1. ปะการังบริเวณแนวราบ เป็นส่วนที่อยู่ติดกับชายฝั่ง บริเวณใกล้ชายฝั่งมักไม่มีปะการังอยู่เลย ( หาดทราย ) เพราะเวลาน้ำลงบริเวณนี้จะโผล่พ้นน้ำเป็นเวลานานทำให้มีการเปลี่ยนอุณหภูมิมาก และยังมีอิทธิพลมาจากน้ำจืดที่ไหลออกจากชายฝั่งเวลาที่มีฝนตกลงมา ปะการังริมฝั่งจะพบมากบริเวณนอกของแนวราบใกล้แนวสันที่ห่างชายฝั่ง
2. ปะการังบริเวณแนวสัน เป็นเขตรอยต่อระหว่างแนวราบส่วนบนและแนวลาดชัน บริเวณนี้เป็นบริเวณที่มีปะการังชนิดต่างๆ อยู่เป็นจำนวนมาก ลักษณะเด่นของที่ขึ้นอยู่บริเวณนี้คือ โขด จาน และกิ่ง
3. บริเวณแนวลาดชัน อยู่ในบริเวณน้ำลึก เป็นส่วนที่ลาดลงสู่พื้นทะเลบริเวณนี้มีปะการังอยู่ไม่มากนัก ลักษณะของปะการังบริเวณแนวลาดชันคือปะการังกิ่ง ปะการังแผ่น ปะการังอ่อน และกัลปังหา
แนวนอกปะการัง เป็นบริเวณที่เป็นพื้นทรายมีปะการังอยู่บ้างประปรายและไม่มีปะการังเลยในระดับที่ลึก
2. กลุ่มปะการังบนพื้นทราย ( patch reef )
เป็นลักษณะของปะการังขึ้นเป็นกลุ่มอยู่บนพื้นทราย โดยที่แต่ละกลุ่มอาจเป็นปะการังชนิดโขดใหญ่และมีปะการังชนิดอื่นๆ บนโขดนั้น เป็นลักษณะของรูปแบบการเกิดของแนวปะการังในพื้นที่ซึ่งค่อนข้างจะเปิดรับแรงปะทะของคลื่นมากกว่าปะการังริมฝั่ง หรือพบบริเวณร่องน้ำระหว่างเกาะซึ่งมีกระแสน้ำไหลเชี่ยว ถึงแม้จะมีการสร้างหินปูนแต่ไม่มีการก่อเป็นแนวหินปะการัง ในกลุ่มปะการังบนพื้นทรายนี้จะมีความหลากหลายของชนิดสัตว์รวมทั้งปะการัง แต่ในบางพื้นที่อาจจะพบเพียงปะการังโขด หรือปะการังเขากวางเพียงอย่างเดียว
ภาพกลุ่มปะการังบนพื้นทราย
3. กลุ่มปะการังบนโขดหิน ( coral community on rocky coast )
เป็นปะการังที่เกาะยึดติดอยู่บนโขดหินใต้น้ำ ชนิดของปะการังเป็นชนิดที่เติบโตได้ในแนวปะทะของคลื่นที่รุนแรงได้ มักเป็นปะการังที่เป็นแผ่นเคลือบบนหิน เป็นพุ่มเป็นกิ่งๆ และหนา หรือเป็นหัวขนาดเล็กยึดติดกับโขดหิน บริเวณนี้มักจะไม่มีการทับถมของซากหินปูนจนเป็นแนวปะการัง
ภาพกลุ่มปะการังบนโขดหิน
4. แหล่งกัลปังหา และปะการังอ่อน ( sea fan and soft coral community )
เป็นบริเวณที่ปะการังอ่อน กัลปังหา และ ปะการังแข็งขึ้นอยู่ประปนกัน มักจะอยู่บริเวณที่น้ำลึกตั้งแต่ 10-50 เมตร อาจเป็นเป็นโขดหินใต้น้ำ หรือบริเวณหัวแหลมที่มีกระแสน้ำไหลแรง
แหล่งกัลปังหา และปะการังอ่อน
ปะการังมีมากมายหลายชนิดกว่า 700 ชนิดทั่วโลก สำหรับประเทศไทยมีปะการังประมาณ 350 ชนิด ชนิดของปะการังที่พบได้ง่ายและควรรู้จักมีดังนี้ ที่มา: http://www.nemotour.com/knowledge/coral.htm

ไม่มีความคิดเห็น: