วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2552



เว็บนำเสนอของพี่นักศึกษา
ถ้าอยากมาดูประวัติของนักศึกษา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรูงเทพ





วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ดำน้ำดูปะการังที่หมู่เกาะสิมิลัน









หมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะกลางทะเลอันดามันที่เป็นเลิศในความงามของปะการังแห่งหนึ่งของโลก “สิมิลัน” เป็นภาษายาวีหรือมลายู แปลว่า “เก้า” ชาวประมงบางคนจึงเรียกว่า หมู่เกาะเก้า ประกอบด้วย เกาะใหญ่น้อย 9 เกาะด้วยกัน เรียงตัวตามแนวทิศเหนือไปทิศใต้ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันประกอบด้วย เกาะบอน เกาะบางู เกาะสิมิลัน เกาะปายู เกาะห้า เกาะเมียง เกาะปาหยัน เกาะปายัง และเกาะหูยง หมู่เกาะสิมิลัน เป็นอุทยานแห่งชาติในปี พ.ศ. 2525 ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา และในปี 2541 ได้ผนวกรวมเกาะตาชัย ทำให้มีพื้นที่ทั้งหมด 140 ตารางกิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2524 คณะสำรวจหมู่เกาะสิมิลันซึ่งประกอบด้วย Mr. Jeferey A. Sayer ผู้เชี่ยวชาญด้านอุทยานแห่งชาติและสัตว์ป่าของ FAO (ขณะนั้นช่วยงานด้านอุทยานแห่งชาติและสัตว์ป่า กรมป่าไม้) ดร.เต็ม สมิตินันท์ ผู้เชี่ยวชาญกรมป่าไม้ นายสุวัช สิงหพันธุ์ เจ้าหน้าที่กองอุทยานแห่งชาติ และคณะสำรวจของนายประพันธ์ ผลเสวก แห่งนิตยสารเพื่อนเดินทาง ได้เสนอความคิดเห็นต่อกองอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2524 ว่า บริเวณหมู่เกาะสิมิลันมีสภาพธรรมชาติและทิวทัศน์ทางทะเลสวยงามยิ่ง สภาพแวดล้อมบนเกาะต่างๆ สมบูรณ์ มีพรรณพืชและสัตว์ที่น่าสนใจหลายชนิด สภาพภูมิประเทศทั่วไปประกอบด้วยหน้าผา โขดหินรูปร่างแปลกตา มีหาดทรายขาวบริสุทธิ์ และใต้ท้องทะเลอุดมสมบูรณ์ด้วยปะการังหลากสีหลายชนิดและอยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุด เหมาะสมที่จะสงวนรักษาไว้เป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2524 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2524 เห็นสมควรให้จัดบริเวณหมู่เกาะเก้าหรือหมู่เกาะสิมิลันเป็นอุทยานแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยให้ชื่อว่า “หมู่เกาะสิมิลัน” ในการประชุมเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2525 โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินหมู่เกาะสิมิลัน ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เนื้อที่ประมาณ 80,000 หรือ 128 ตารางกิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติภายใต้ชื่อว่า “ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ” โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 123 ลงวันที่ 1 กันยายน 2525 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 43 ของประเทศไทย ต่อมาได้ผนวกพื้นที่เกาะตาชัย เนื้อที่ 12 ตารางกิโลเมตรเข้าเป็นอุทยานแห่งชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 65ก ลงวันที่ 25 กันยายน 2541 รวมพื้นที่อุทยานแห่งชาติทั้งสิ้น 87,500 ไร่ หรือ 140 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากชายฝั่งประมาณ 78 กิโลเมตร สภาพทางภูมิศาสตร์อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ประกอบด้วยพื้นดินที่เป็นเกาะต่างๆ เขาหินแกรนิตสูงชัน หาดทราย โขดหิน ลักษณะรูปร่างต่างๆ ชายฝั่งของเกาะต่างๆ มีลักษณะเว้าแหว่งไม่เป็นระเบียบ เนื่องจากตั้งอยู่ในส่วนทะเลนอก ได้รับอิทธิพลจากการกัดเซาะของคลื่นทะเลโดยตรง เรียงตัวตามแนวทิศเหนือใต้ พื้นน้ำเป็นส่วนหนึ่งของทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดียตะวันออก บริเวณไหล่ทวีปติดชายฝั่งตะวันตกของจังหวัดพังงาและประเทศพม่า คู่ขนานกับแนวเกาะนิโคบาร์ ที่เป็นไหล่ทวีปของประเทศอินเดีย ตามชายหาดหรือสันทรายจะไม่มีดินเลนให้เห็นจึงเป็นชายหาดที่ขาวสะอาด สวยงาม อนุภาค ทรายมีขนาดเล็กละเอียด ส่วนที่เป็นยอดเขาจะเป็นเขาโดดสูงชัน ยอดเขาสูงสุดมีความสูง 244 เมตร จากระดับน้ำทะเล บางเกาะมีลักษณะแบนราบล้อมรอบด้วยเนินทรายและแนวปะการัง จุดที่น่าสนใจหมู่เกาะสิมิลัน เป็นหมู่เกาะในประเทศไทย ที่คนไทยน้อยคนนัก จะรู้จักว่า โลกใต้น้ำที่สิมิลันนั้น สวยงามติดอันดับเจ็ดของโลก (สมัยก่อนนะ แต่สมัยนี้ไม่รู้ว่าหล่นไปอยู่ที่เท่าไหร่ เพราะเราเองไม่ค่อยหวงแหน) และแน่นอน จุดที่น่าสนใจของหมู่เกาะสิมิลัน คือการดำน้ำลึก โดยท่านสามารถดำน้ำชนิดที่ว่า 4 วันไม่เบื่อ (ไม่ใช่ลงทีเดียว 4 วันนะครับ อย่างนั้นเค้าเรียกว่าอืดแล้ว) และไม่ซ้ำที่กันเลย นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ ที่ไปเที่ยวที่สิมิลัน ไม่ค่อยได้ศึกษามาก่อนว่า สิมิลันมีอะไรดี เลยไม่ได้เจอเพชรในตม (อยู่ลึกไปหน่อย)แต่ไม่ใข่ว่า สิมิลันจะดีแค่โลกใต้น้ำเท่านั้น สิมิลันยังมีหาดทรายที่ขาวสนิท ราวกับแป้งหลายแห่ง แต่ที่นักท่องเที่ยวนิยมคือ ที่เกาะสี่ อันเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติ และที่เกาะแปด อันเป็นสัญลักขณ์ ของสิมิลัน สำหรับที่เกาะอื่น ไม่ใช่ว่าไม่มีอะไรน่าสนใจนะครับ แต่ส่วนใหญ่ จะเป็นจุดที่ดำน้ำลึกมากกว่า แต่ในบางเกาะ ก็ไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้า เพราะเป็นจุดที่เต่าทะเล ขึ้นมาวางไข่ด้วยความหลากหลาย ของภูมิประเทศและความงดงาม ของทรัพยากรใต้น้ำนี่เอง ที่ทำให้อุทยานแห่งชาติสิมิลันแห่งนี้ ไม่เคยขาดนักท่องเที่ยวเลย ทั้งไทยและต่างประเทศ
หาดทรายขาวๆ น้ำทะเลใสๆ ที่เกาะตาชัย ระหว่างหมู่เกาะสิมิลัน และหมู่เกาะสุรินทร์
การเดินทางเพราะเนื่องจากหมู่เกาะสิมิลัน เป็นเขตของอุทยานแห่งชาติ ดังนั้นการเข้าไปพัก จะต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบ ของกรมป่าไม้ การเดินทาง สู่หมู่เกาะสิมิลัน จะต้องเช่าเหมาลำ จากท่าเรือทับละมุ จังหวัดพังงา ซึ่งเป็นจุดที่ใกล้ที่สุด โดยจะใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง แต่เดี๋ยวนี้ เรือเร็วจากท่าเรือทับละมุ ก็มีให้เห็นกันบ้างแล้ว สนนราคาประมาณ สองพันบาทต่อคนสำหรับการโดยสาร เรือไปยังหมู่เกาะสิมิลัน จากจังหวัดภูเก็ต ก็เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง ที่มีความสะดวกสบายมาก โดยจะมีเรือโดยสารท่องเที่ยว แบบไปเช้ากลับเย็น ในราคาประมาณ พันกว่าถึงสองพันบาทต่อคน โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 3-4 ชั่วโมง สำหรับการเช่าเหมาลำ จากท่าเรือทับละมุ หากเป็นคณะใหญ่ ท่านสามารถเช่าเรือขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถบรรทุกคนได้ 30-60 คน แล้วแต่ชนิดของเรือ โดยราคาเช่าเหมาลำอยู่ที่ประมาณ 8,000- 20,000 บาทต่อวันสำหรับการเดินทางสู่ท่าเรือทับละมุโดยทางรถโดยสาร สามารถนั่งรถโดยสารจากกรุงเทพ ปลายทางตะกั่วป่า และนั่งรถท้องถิ่น(เรียกง่ายๆว่าสองแถว) เข้าไปยัง ท่าเรือทับละมุ อีกทีหนึ่ง ซึ่งไม่ไกลมากจากอำเภอตะกั่วป่าโดยทางเครื่องบิน สามารถโดยสารเครื่องบิน มาลงที่สนามบินภูเก็ต จากนั้น ก็เป็นเรื่องของการเช่ารถ หรือโดยสารถท้องถิ่น มาลงที่ตะกั่วป่า และท่าเรือทับละมุ โดยมีระยะทางจากภูเก็ตประมาณ 90 กิโลเมตรช่วงเวลาที่เหมาะสมฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ - เดือนพฤษภาคม ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม - เดือนตุลาคม อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 27 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์อยู่ในเกณฑ์สูงเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 83 % ปริมาณน้ำฝนแต่ละปีเฉลี่ย 3,560 มิลลิเมตร ปริมาณการระเหยของน้ำแต่ละปีเฉลี่ย 1,708 มิลลิเมตร ช่วงฤดูฝนเป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากจะทำให้ฝนตกหนักแล้ว ท้องทะเลยังมีคลื่นลมแรง ทำให้การเดินทางไปท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันในช่วงนี้ไม่ปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว ทางอุทยานฯ จึงกำหนดปิด-เปิดฤดูการท่องเที่ยวประจำปี ดังนี้ ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม - 14 พฤศจิกายน ของทุกปี เปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน - 15 พฤษภาคม ของทุกปี ที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวกบนเกาะสี่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของอุทยาน จะมีบ้านพักรับรอง นักท่องเที่ยวได้พอสมควร และมีเต๊นท์ให้บริการด้วยเช่นกัน สำหรับการติดต่อที่พัก สามารถติดต่อได้โดยตรง โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกรมป่าไม้ สำหรับอาหารการกิน ทางอุทยาน มีโรงอาหารบริการนักท่องเที่ยว โดยเพื่อไม่เป็นการประมาท นักท่องเที่ยวควรจองที่พักพร้อมอาหารให้เรียบร้อยสำหรับไฟฟ้า จะมีไฟปั่น เพื่อให้แสงสว่าง ในยามค่ำคืน เท่านั้น โดยจะปิดช่วงหลังเที่ยงคืน ส่วนห้องนอนแบบห้องสูท หรือห้องสวีทนั้น คงไม่มีให้ท่านแน่นอน และหากท่านไม่มีการติดต่อล่วงหน้ามาก่อน ท่านอาจจะไม่ได้ห้องพัก หรืออาหาร แม้แต่จะนอนเต๊นท์ก็ตาม(หมายเหตุ - ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากเวปไซท์ ของกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ เพื่อการประชาสัมพันธ์)

ปะการัง





ปะการังเป็น สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ในทะเล ที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลน้ำตื้น ระดับที่แสงสว่าง ส่องลงไปถึง และไม่พบใน แหล่งน้ำจืดเลย ปะการังทั่วโลก มีจำนวนรวมกัน ประมาณ 700 ชนิด และพบในทะเลไทยประมาณ 350 ชนิด ปะการัง มีรูปร่างเป็น ทรงกระบอก ด้านบนมีปากอยู่ตรงกลาง และมีหนวดจำนวนมาก เรียงราย อยู่โดยรอบ และ เรียกชื่อลักษณะดังกล่าวนี้ว่า "โฟลิป" ( polyp ) ปะการังส่วนใหญ่ อาศัยอยู่รวมกัน เป็นกลุ่มและมีเนื้อเยื่อ ติดต่อถึงกัน ซึ่งเรียกว่า โคโลนี (colony)
ปะการังมีโครงค้ำจุนร่างกาย เป็นสารประกอบ จำพวกหินปูน เมื่อตัวปะการังตายแล้ว จึงเหลือแต่โครงเป็นช่องๆ ซึ่งเคยเป็นที่อยู่อาศัยของ แต่ละโพลิปนั่นเอง ตัวอย่างของ ซากปะการังชนิดนี้ คือปะการังผึ้ง ซึ่งอาศัยอยู่รวมกันเป็นโคโลนี
ปะการังเป็นสัตว์ในไฟลั่มไนดาเรีย (Cnidaria) ซึ่งมีเซลล์พิเศษ ทำหน้าที่สร้างเข็มพิษ เรียกว่า นีมาโตซีส ( ืnematocyst ) ลักษณะเป็นกระเปาะกลมภายในบรรจุน้ำพิษ มีท่อเป็น สายยาวใช้แทงเข้าไป ในเนื้อเยื่อหรือศัตรู น้ำพิษของปะการังนั้นมีพิษ น้อยมาก
ภายในเนื้อเยื่อของปะการัง มักมีสาหร่ายเซลล์เดียวขนาดเล็ก จำนวนมากอาศัยอยู่ จึงทำให้ ปะการังมีสีเขียวหรือ สีเหลืองทอง สาหร่ายเหล่านี้สังเคราะห์แสงได้แป้งและออกซิเจน เป็นประโยชน์ ต่อการดำรงชีพของปะการัง
แนวปะการังที่พบใน ทะเลไทยเป็น แนวปะการังริมชายฝั่งน้ำตื้น พบอยู่บริเวณชายฝั่ง และรอบเกาะแก่งต่างๆ ทั้งในอ่าวไทย และทะเลอันดามัน หากเป็นช่วงที่น้ำทะเลขึ้นสูง น้ำทะเลจะท่วมแนว ปะการังที่ติดชายฝั่ง ประมาณ 3-4 เมตร โดยจะสังเกต แนวปะการังได้จากผิวทะเล
ปะการังมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อมนุษย์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม แนวปะการัง เป็นระบบนิเวศน์ที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดใน ทะเล เพราะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งเพาะพันธุ์วางไข่ของสัตว์น้ำนานาชนิด เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา ที่มนุษย์นำมาบริโภค แนวปะการังช่วยลด ความรุนแรง ของคลื่นที่ซัด เข้าสู่ชายฝั่ง แนวปะการัง มีความสวยงาม เหมาะสำหรับ การท่องเที่ยว ช่วยให้ เกิดรายได้แก่ ท้องถิ่น
แนวปะการังมักถูกบุกรุก ทำลายโดยมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ เช่นการใช้ระเบิด จับปลา การทิ้งสมอเรือใน แนวปะการัง การเก็บหักปะการัง นำไป ประดับตอแต่ง การเหยียบย่ำ การทำเหมือแร่ริมชายฝั่ง ตลอดจนการ ปล่อยน้ำเสีย ลงสู่ชายฝั่งที่มีแนวปะการัง เหล่านี้ล้วนแล้วแต่ เป็นการทำลาย สภาวะแวดล้อมของแนวปะการัง ให้เสื่อมโทรมลง
การศึกษาถึงชนิดและ ประโยชน์ของปะการัง จะช่วยสร้างจิดสำนึก ให้ทุกคน ร่วมมือกันอนุรักษ์ แนวปะการัง เป็นแหล่งทรัพยากร ธรรมชาติ ที่มี คุณค่าและเป็นสมบัติของทุกคนไว้สืบไป มาดูเว็บโรงเรียนบ้านทองหลางมาที่นี้

ปะการัง ( Coral )




ปะการัง เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งจัดอยู่ในประเภทสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ( ที่มีกระดูกสันหลังคือปลาต่างๆ ) ปะการังมีมากมายหลายชนิดมีทั้งปะการังแข็ง ปะการังอ่อน หลากสีสันและหลากหลายรูปร่างเช่นปะการังเขากวาง ปะการังดอกเห็ด และอีกมากมาย ประเทศไทยเรามีปะการังมากมายเพราะประเทศเราอยู่เขตร้อน ปะการังอยู่ได้เฉพาะเขตร้อนและใกล้เขตร้อนที่อุณหภูมิของน้ำไม่ต่ำกว่า 18 องศาเซลเซียส ดังนั้นประเทศในเขตหนาวจึงไม่มีปะการัง นักท่องเที่ยวต่างประเทศจึงมาเที่ยวเมืองไทยเพื่อมาดำน้ำดูปะการังสวยๆ ดูสิ่งมีชีวิตมากมายในแนวปะการัง ทะเลฝั่งอันดามันของเรามีปะการังที่สวยงามอย่างเช่นเกาะสิมิลันที่มีความสวยงามใต้น้ำติดอันดับโลก ความสวยงามใต้น้ำที่ว่านั้นก็คือปะการังนั่นเอง ปะการังเป็นทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลที่สำคัญ เป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์น้ำ เป็นแหล่งอาหารเพื่อการเจริญเติบโต เป็นแหล่งเพราะพันธุ์และวางไข่ เป็นแหล่งหลบภัยของสัตว์น้ำต่างๆ ดังนั้นปะการังจึงเป็นเหมือนผู้ผลิตและเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในทะเล แต่สำหรับนักท่องเที่ยวแล้วปะการังเป็นสิ่งวิเศษสุดสำหรับความสวยงามของโลกใต้ทะเล ที่ใดมีปะการังอุดมสมบูรณ์ที่นั่นย่อมมีสิ่งมีชีวิตหลากหลาย มีปลาสวยๆ ที่มาอาศัยหลบภัยและหากินตามแนวปะการัง มีกุ้งสวยๆ ให้เราได้ชมมาเรียนรู้เรื่องปะการังกับนีโมทัวร์กันครับ
ปะการัง ( Coral ) เมื่ออยู่รวมกันในบริเวณหนึ่งเราเรียกว่าแนวปะการัง ( Reef ) ก็เหมือนกับต้นไม้แหล่ะครับ เมื่ออยู่ต้นเดียวเราเรียกต้นไม้ เมื่อมีอยู่รวมกันมากๆ เราเรียกว่าป่า ดังนั้นแนวปะการังก็เปรียบเสมือนเป็นป่าแห่งท้องทะเล แนวปะการังในท้องทะเลไทยมีหลายแบบคือ
1. แนวปะการังริมฝั่ง ( fringing reef )
เกิดจากสะสมหินปูนอันเกิดจากโครงสร้างของปะการังแข็งที่ทับถมกันเรื่อยมาจนก่อเกิดเป็นแนวหินปะการัง แนวปะการังริมฝั่งแบ่งเป็น 3 เขตตามลักษณะของชายฝั่งดังภาพข้างล่าง คือ บริเวณแนวราบชายฝั่งบริเวณน้ำตื้น - บริเวณแนวสันที่เป็นจุดเปลี่ยนระหว่างน้ำตื่นและน้ำลึก - บริเวณแนวลาดชันเป็นส่วนที่ลาดลงสู่ระดับน้ำลึก ไปจนสุดเขตนอกแนวปะการัง บริเวณที่น้ำลึกมากๆ จะไม่มีปะการังทั้งนี้เนื่องจากปริมาณแสงแดดที่ส่งไปถึงพื้นมีน้อย

1. ปะการังบริเวณแนวราบ เป็นส่วนที่อยู่ติดกับชายฝั่ง บริเวณใกล้ชายฝั่งมักไม่มีปะการังอยู่เลย ( หาดทราย ) เพราะเวลาน้ำลงบริเวณนี้จะโผล่พ้นน้ำเป็นเวลานานทำให้มีการเปลี่ยนอุณหภูมิมาก และยังมีอิทธิพลมาจากน้ำจืดที่ไหลออกจากชายฝั่งเวลาที่มีฝนตกลงมา ปะการังริมฝั่งจะพบมากบริเวณนอกของแนวราบใกล้แนวสันที่ห่างชายฝั่ง
2. ปะการังบริเวณแนวสัน เป็นเขตรอยต่อระหว่างแนวราบส่วนบนและแนวลาดชัน บริเวณนี้เป็นบริเวณที่มีปะการังชนิดต่างๆ อยู่เป็นจำนวนมาก ลักษณะเด่นของที่ขึ้นอยู่บริเวณนี้คือ โขด จาน และกิ่ง
3. บริเวณแนวลาดชัน อยู่ในบริเวณน้ำลึก เป็นส่วนที่ลาดลงสู่พื้นทะเลบริเวณนี้มีปะการังอยู่ไม่มากนัก ลักษณะของปะการังบริเวณแนวลาดชันคือปะการังกิ่ง ปะการังแผ่น ปะการังอ่อน และกัลปังหา
แนวนอกปะการัง เป็นบริเวณที่เป็นพื้นทรายมีปะการังอยู่บ้างประปรายและไม่มีปะการังเลยในระดับที่ลึก
2. กลุ่มปะการังบนพื้นทราย ( patch reef )
เป็นลักษณะของปะการังขึ้นเป็นกลุ่มอยู่บนพื้นทราย โดยที่แต่ละกลุ่มอาจเป็นปะการังชนิดโขดใหญ่และมีปะการังชนิดอื่นๆ บนโขดนั้น เป็นลักษณะของรูปแบบการเกิดของแนวปะการังในพื้นที่ซึ่งค่อนข้างจะเปิดรับแรงปะทะของคลื่นมากกว่าปะการังริมฝั่ง หรือพบบริเวณร่องน้ำระหว่างเกาะซึ่งมีกระแสน้ำไหลเชี่ยว ถึงแม้จะมีการสร้างหินปูนแต่ไม่มีการก่อเป็นแนวหินปะการัง ในกลุ่มปะการังบนพื้นทรายนี้จะมีความหลากหลายของชนิดสัตว์รวมทั้งปะการัง แต่ในบางพื้นที่อาจจะพบเพียงปะการังโขด หรือปะการังเขากวางเพียงอย่างเดียว
ภาพกลุ่มปะการังบนพื้นทราย
3. กลุ่มปะการังบนโขดหิน ( coral community on rocky coast )
เป็นปะการังที่เกาะยึดติดอยู่บนโขดหินใต้น้ำ ชนิดของปะการังเป็นชนิดที่เติบโตได้ในแนวปะทะของคลื่นที่รุนแรงได้ มักเป็นปะการังที่เป็นแผ่นเคลือบบนหิน เป็นพุ่มเป็นกิ่งๆ และหนา หรือเป็นหัวขนาดเล็กยึดติดกับโขดหิน บริเวณนี้มักจะไม่มีการทับถมของซากหินปูนจนเป็นแนวปะการัง
ภาพกลุ่มปะการังบนโขดหิน
4. แหล่งกัลปังหา และปะการังอ่อน ( sea fan and soft coral community )
เป็นบริเวณที่ปะการังอ่อน กัลปังหา และ ปะการังแข็งขึ้นอยู่ประปนกัน มักจะอยู่บริเวณที่น้ำลึกตั้งแต่ 10-50 เมตร อาจเป็นเป็นโขดหินใต้น้ำ หรือบริเวณหัวแหลมที่มีกระแสน้ำไหลแรง
แหล่งกัลปังหา และปะการังอ่อน
ปะการังมีมากมายหลายชนิดกว่า 700 ชนิดทั่วโลก สำหรับประเทศไทยมีปะการังประมาณ 350 ชนิด ชนิดของปะการังที่พบได้ง่ายและควรรู้จักมีดังนี้ ที่มา: http://www.nemotour.com/knowledge/coral.htm

วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2551

สิ่งมีชีวิตในปะการัง







8. สัตว์อื่นๆ ที่อาศัยในแนวปะการัง
หอย ได้แก่ หอยเบี้ย หอยสังข์ หอยนางรม หอยมือเสือ หอยเต้าปูน และหอยสังข์แตร โดยหอยสังข์แตรเป็นหอยที่กินปลาดาวมงกุฎหนามซึ่งเป็นศัตรูของปะการังจึงมีความสำคัญต่อปะการังสูงมาก
หมึกทะเล เป็นหอยชนิดที่ไม่มีเปลือก ลำตัวอ่อนนุ่มมีหนวดสำหรับจับเหยื่อจำพวก กุ้ง ปู ปลา เป็นอาหารหมึกทะเลจะพ่นหมึกสีดำจากตัวในเวลาที่จะหนีศัตรู หมึกทะเลมี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ หมึกยักษ์และหมึกธรรมดา ซึ่งได้แก่ หมึกกล้วย หมึกกระดอง
กุ้งและปู เช่น ปูปะการัง มีกระดองกว้างถึง 6 นิ้ว กระดองมีสีแดงสลับเหลืองอ่อนและสีขาวเป็นปูที่มีก้ามแข็งแรงมาก และใช้เป็นอาวุธสำหรับจับเหยื่อ กุ้งพยาบาล ลำตัวมีสีแดงสลบขาว กินตัวพยาธิที่เกาะอยู่ตามผิวหนังของปลาที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังเป็นอาหาร จึงเรียกว่ากุ้งพยาบาล กุ้งมังกร เป็นกุ้งขนาดใหญ่ มีความยาวถึง 2 ฟุตและมีน้ำหนัก เมื่อโตเต็มที่เกือบถึง 12 กิโลกรัม ตัวมีสีน้ำเงินหัวใหญ่มีหนามและมีหนวดอยู่ 2 เส้น หนวดมีความยาวมากกินหนอนทะเล ทากทะเลและปูเป็นอาหาร ปัจจุบันกุ้งมังกรเป็นที่นิยมบริโภคจึงถูกจับขึ้นมาจากท้องทะเลด้วยน้ำหนักเพียง 1-2 กิโลกรัมทำให้กุ้งมังกรค่อยๆ สูญพันธุ์ไปจากทะเลอย่างรวดเร็ว
ปลาต่างๆ ปลาที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังมีทั้งปลาที่เป็นอาหารและปลาประเภทสวยงาม ได้แก่ปลาสิงโต ปลานกแก้ว ปลาการ์ตูน และปลาผีเสื้อ โดยเฉพาะปลาการัง หรือปลาเก๋าปลาชนิดนี้เมื่อโตเต็มที่จะมีลำตัวใหญ่มาก มีความยาวถึง 2 เมตรปลานกแก้วนอกจากจะเป็นปลาสวยงามแล้วยังมีปากและขากรรไกรที่แข็งแรงคล้ายนกแก้วมีฟันหลายแถว กินสาหร่ายและปะการังเป็นอาหาร ปลานกแก้วจะกัดทั้งก้อนปะการังและจะย่อยเฉพาะตัวปะการัง ส่วนโครงสร้างแข็งนั้นจะขับถ่ายคายออกมาเป็นเศษละเอียดกลายเป็นเม็ดทรายละเอียดต่อไป

สัตว์ที่มีผิวหนังเป็นปุ่ม ที่อาศัยทั่วไปในแนวปะการัง ได้แก่ หอยเม่น มีหลายชนิดโดยทั่วไปมีรูปร่างกลม มีหนามที่ผิวหอยเม่นที่พบส่วนใหญ่จะมีสีดำ หนามเปราะหักตำได้ง่ายแต่ที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังนั้น มีทั้งชนิดหนามสั้น หนามยาว หนามแหลม หนามทู่ และหอยเม่นที่นิยมเก็บมาทำของที่ระลึก ได้แก่ หอยเม่นหนามสั้น และหอยเม่นดินสอ ดาวทะเล มีหลายชนิด หลายสีรูปร่างแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนคือ ส่วนลำตัว และส่วนแขนที่แยกออกไปเป็นแฉกคล้ายรัศมีดาว ส่วนใหญ่มีรัศมี 5 แฉก บางชนิดอาจมีมากกว่านั้น ดาวทะเลส่วนใหญ่กินหอยเป็นอาหาร แต่มีดาวทะเลชนิดกินปะการังเป็นอาหาร ได้แก่ ดาวมงกุฎหนาม ดาวมงกุฎหนาม หรือที่เรียกว่าปลาดาวหนาม (Crown of Thorns Starfish) เป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง รูปร่างมีลักษณะเป็นแฉกคล้ายดาวและมีหนามอยู่บนผิวหนังรอบตัวบริเวณใต้แขนที่เป็นแฉกแต่ละแขนจะมีขาเป็นหลอดสั้นเรียงกันเป็นแถวสำหรับใช้จับอาหารและเคลื่อนที่การเคลื่อนที่นี้เป็นไปอย่างเชื่องช้า แต่สามารถเคลื่อนที่ได้ทุกแนวระดับตามพื้นท้องทะเล ดาวมงกุฎหนามจะกินเนื้อเยื่อของปะการังเป็นอาหาร
ปะการังที่ถูกดาวมงกุฎหนามกินมากที่สุด ได้แก่ ปะการังเขากวาง ปะการังเห็นและปะการังที่ไม่ถูกดาวมงกุฎหนามกินเลย ก็คือปะการังสีน้ำเงิน

ประเภทของแนวปะการัง



แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. แนวปะการังบริเวณชายฝั่ง เป็นแนวปะการังน้ำตื้นอยู่ใกล้ชายฝั่ง ได้แก่
- ปะการังแนวลาดชัน เป็นแนวปะการังที่อยู่ติดทะเลลึก เติบโตได้ดี เพราะมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ทั้งระดับความลึก ความเค็ม และความใสของน้ำทะเล
- แนวปะการังพื้นราบ เป็นแนวปะการังที่อยู่ติดกับชายฝั่ง มีปะการังเติบโตอยู่ไม่กี่ชนิด เนื่องจากเป็นเขตน้ำตื้นเมื่อน้ำลดลงปะการังได้รับแสงแดดมากเกินไป ความไม่คงที่ของน้ำทะเลจึงไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปะการัง
2. แนวปะการังแบบกำแพง มีลักษณะเช่นเดียวกับแนวปะการังบริเวณชายฝั่งต่างกันที่แนวปะการังแบบกำแพงจะอยู่ห่างจากชายฝั่งออกมามากกว่าและปกติจะมีร่องน้ำที่ลึกและกว้างคั่นอยู่ระหว่างแนวปะการังกับบริเวณชายฝั่งในบริเวณที่เป็นร่องน้ำลึกนั้นก็เป็นที่ๆ มีปะการังเจริญเติบโตอยู่ด้วย แนวปะการังแบบกำแพงที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือเกรท แบริเออร์ รีฟ (Great Barrier Reef) อยู่ทางตะวันออกของประเทศออสเตรเลีย มีความยาว 1,370 ไมล์
3. แนวปะการังแบบเกาะ เป็นแนวปะการังที่อยู่ในน่านน้ำทะเลลึกไกลจากน้ำ บางครั้งมีลักษณะเป็นเกาะเล็กๆ ที่เกิดจากโครงสร้างหินปูนของปะการัง เกาะประเภทนี้จะมีหาดทรายที่สวยและขาวสะอาดเพราะเป็นรายที่เกิดจากการสลายตัวของโครงสร้างหินปูนของปะการัง

สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแนวปะการัง












1. สาหร่ายเซลเดียว มีความสำคัญต่อชีวิตในแนวปะการังอื่นๆ เพราะทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตธาตุอาหารเบื้อต้นด้วยการสังเคราะห์แสงจากพลังงานแสดงอาทิตย์สาหร่ายเป็นอาหารแก่สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้แก่ ตัวปะการัง และแพลงก์ตอน

2. หญ้าทะเล เจริญเติบโตได้ดีในแนวปะการังที่ราบเรียบ และบริเวณชายฝั่งทะเลหญ้าทะเลเป็นอาหารของเต่าทะเลพะยูนและปลาบางชนิด นอกจากนี้รากของหญ้าทะเลยังช่วยในการป้องกันการกัดเซาะหน้าดินอีกด้วย
3. ฟองน้ำ เป็นสัตว์น้ำหลายเซลมีขนาดต่างๆ กัน ทั้งลักษณะและรูปร่างสีสัน บางชนิดเป็นรูปด้วยเป็นก้อน เป็นแผ่นบางๆ และบางชนิดมีสีสันสดสวยงดงามมาก ฟองน้ำทำหน้าที่ผลิตสารที่มีคุณค่าให้แก่เพรียง หญ้าทะเล สัตว์น้ำอื่นและฟองน้ำบางชนิดยังเป็นอาหารของมนุษย์ด้วย
4. ปะการังอ่อน ปะการังชนิดนี้ไม่สร้างโครงหินปูนห่อหุ้มตัวแต่จะสร้างโครงหินปูนภายในตัวของมันเองสามารถสะบัดไหวไปมาตามกระแสน้ำได้จึงเรียกว่าปะการังอ่อนมีลักษณะเป็นแท่งเรียวเหมือนเขาสัตว์ซึ่งสามารถโก่งงอได้มีสีสันหลายหลายสวยงามทั้งที่เติบโตเป็นต้น เป็นกอและเป็นแผ่น
5. กัลปังหา เป็นปะการังที่มีหลายสีรูปทรงเรียวยาวและมีกิ่งก้านสาขาแผ่คล้ายต้นไม้ กิ่งก้านหนึ่งของกัลปังหาอาจมีความยาวตั้งแต่ 2-3 นิ้ว ไปจนถึงความยาวเป็นเมตร
6. ดอกไม้ทะเล เป็นสัตว์กลุ่มเดียวกับปะการังมีรูปร่างทรงกระบอกด้านล่างเป็นฐานยึดติดกับก้อนหิน มีหนวดมีเข็มพิษสำหรับจับปลาเล็กๆ กินเป็นอาหาร มีสันของดอกไม้ทะเล คือ ปลาการ์ตูนซึ่งนอกจากจะมีสีสวยงามแล้ว ยังมีเมือกกันพิษจากดอกไม้ทะเลหุ้มตัวอยู่ ทำให้ไม่ได้รับอันตราย
7. หนอนทะเล มีหลายชนิด บางชนิดมีขนาดเล็กอาศัยอยู่ในรอยแตกหรือซอกหินของแนวปะการังมีรูปร่างสีสันสวยงาม หนอนทะเลเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการแตกสลายของปะการังโดยการขุดโพรงเป็นที่อยู่อาศัยเศษหินที่ขุดออกมาก็จะกลายเป็นเศษหินหรือทราย