วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ดำน้ำดูปะการังที่หมู่เกาะสิมิลัน









หมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะกลางทะเลอันดามันที่เป็นเลิศในความงามของปะการังแห่งหนึ่งของโลก “สิมิลัน” เป็นภาษายาวีหรือมลายู แปลว่า “เก้า” ชาวประมงบางคนจึงเรียกว่า หมู่เกาะเก้า ประกอบด้วย เกาะใหญ่น้อย 9 เกาะด้วยกัน เรียงตัวตามแนวทิศเหนือไปทิศใต้ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันประกอบด้วย เกาะบอน เกาะบางู เกาะสิมิลัน เกาะปายู เกาะห้า เกาะเมียง เกาะปาหยัน เกาะปายัง และเกาะหูยง หมู่เกาะสิมิลัน เป็นอุทยานแห่งชาติในปี พ.ศ. 2525 ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา และในปี 2541 ได้ผนวกรวมเกาะตาชัย ทำให้มีพื้นที่ทั้งหมด 140 ตารางกิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2524 คณะสำรวจหมู่เกาะสิมิลันซึ่งประกอบด้วย Mr. Jeferey A. Sayer ผู้เชี่ยวชาญด้านอุทยานแห่งชาติและสัตว์ป่าของ FAO (ขณะนั้นช่วยงานด้านอุทยานแห่งชาติและสัตว์ป่า กรมป่าไม้) ดร.เต็ม สมิตินันท์ ผู้เชี่ยวชาญกรมป่าไม้ นายสุวัช สิงหพันธุ์ เจ้าหน้าที่กองอุทยานแห่งชาติ และคณะสำรวจของนายประพันธ์ ผลเสวก แห่งนิตยสารเพื่อนเดินทาง ได้เสนอความคิดเห็นต่อกองอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2524 ว่า บริเวณหมู่เกาะสิมิลันมีสภาพธรรมชาติและทิวทัศน์ทางทะเลสวยงามยิ่ง สภาพแวดล้อมบนเกาะต่างๆ สมบูรณ์ มีพรรณพืชและสัตว์ที่น่าสนใจหลายชนิด สภาพภูมิประเทศทั่วไปประกอบด้วยหน้าผา โขดหินรูปร่างแปลกตา มีหาดทรายขาวบริสุทธิ์ และใต้ท้องทะเลอุดมสมบูรณ์ด้วยปะการังหลากสีหลายชนิดและอยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุด เหมาะสมที่จะสงวนรักษาไว้เป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2524 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2524 เห็นสมควรให้จัดบริเวณหมู่เกาะเก้าหรือหมู่เกาะสิมิลันเป็นอุทยานแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยให้ชื่อว่า “หมู่เกาะสิมิลัน” ในการประชุมเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2525 โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินหมู่เกาะสิมิลัน ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เนื้อที่ประมาณ 80,000 หรือ 128 ตารางกิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติภายใต้ชื่อว่า “ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ” โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 123 ลงวันที่ 1 กันยายน 2525 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 43 ของประเทศไทย ต่อมาได้ผนวกพื้นที่เกาะตาชัย เนื้อที่ 12 ตารางกิโลเมตรเข้าเป็นอุทยานแห่งชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 65ก ลงวันที่ 25 กันยายน 2541 รวมพื้นที่อุทยานแห่งชาติทั้งสิ้น 87,500 ไร่ หรือ 140 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากชายฝั่งประมาณ 78 กิโลเมตร สภาพทางภูมิศาสตร์อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ประกอบด้วยพื้นดินที่เป็นเกาะต่างๆ เขาหินแกรนิตสูงชัน หาดทราย โขดหิน ลักษณะรูปร่างต่างๆ ชายฝั่งของเกาะต่างๆ มีลักษณะเว้าแหว่งไม่เป็นระเบียบ เนื่องจากตั้งอยู่ในส่วนทะเลนอก ได้รับอิทธิพลจากการกัดเซาะของคลื่นทะเลโดยตรง เรียงตัวตามแนวทิศเหนือใต้ พื้นน้ำเป็นส่วนหนึ่งของทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดียตะวันออก บริเวณไหล่ทวีปติดชายฝั่งตะวันตกของจังหวัดพังงาและประเทศพม่า คู่ขนานกับแนวเกาะนิโคบาร์ ที่เป็นไหล่ทวีปของประเทศอินเดีย ตามชายหาดหรือสันทรายจะไม่มีดินเลนให้เห็นจึงเป็นชายหาดที่ขาวสะอาด สวยงาม อนุภาค ทรายมีขนาดเล็กละเอียด ส่วนที่เป็นยอดเขาจะเป็นเขาโดดสูงชัน ยอดเขาสูงสุดมีความสูง 244 เมตร จากระดับน้ำทะเล บางเกาะมีลักษณะแบนราบล้อมรอบด้วยเนินทรายและแนวปะการัง จุดที่น่าสนใจหมู่เกาะสิมิลัน เป็นหมู่เกาะในประเทศไทย ที่คนไทยน้อยคนนัก จะรู้จักว่า โลกใต้น้ำที่สิมิลันนั้น สวยงามติดอันดับเจ็ดของโลก (สมัยก่อนนะ แต่สมัยนี้ไม่รู้ว่าหล่นไปอยู่ที่เท่าไหร่ เพราะเราเองไม่ค่อยหวงแหน) และแน่นอน จุดที่น่าสนใจของหมู่เกาะสิมิลัน คือการดำน้ำลึก โดยท่านสามารถดำน้ำชนิดที่ว่า 4 วันไม่เบื่อ (ไม่ใช่ลงทีเดียว 4 วันนะครับ อย่างนั้นเค้าเรียกว่าอืดแล้ว) และไม่ซ้ำที่กันเลย นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ ที่ไปเที่ยวที่สิมิลัน ไม่ค่อยได้ศึกษามาก่อนว่า สิมิลันมีอะไรดี เลยไม่ได้เจอเพชรในตม (อยู่ลึกไปหน่อย)แต่ไม่ใข่ว่า สิมิลันจะดีแค่โลกใต้น้ำเท่านั้น สิมิลันยังมีหาดทรายที่ขาวสนิท ราวกับแป้งหลายแห่ง แต่ที่นักท่องเที่ยวนิยมคือ ที่เกาะสี่ อันเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติ และที่เกาะแปด อันเป็นสัญลักขณ์ ของสิมิลัน สำหรับที่เกาะอื่น ไม่ใช่ว่าไม่มีอะไรน่าสนใจนะครับ แต่ส่วนใหญ่ จะเป็นจุดที่ดำน้ำลึกมากกว่า แต่ในบางเกาะ ก็ไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้า เพราะเป็นจุดที่เต่าทะเล ขึ้นมาวางไข่ด้วยความหลากหลาย ของภูมิประเทศและความงดงาม ของทรัพยากรใต้น้ำนี่เอง ที่ทำให้อุทยานแห่งชาติสิมิลันแห่งนี้ ไม่เคยขาดนักท่องเที่ยวเลย ทั้งไทยและต่างประเทศ
หาดทรายขาวๆ น้ำทะเลใสๆ ที่เกาะตาชัย ระหว่างหมู่เกาะสิมิลัน และหมู่เกาะสุรินทร์
การเดินทางเพราะเนื่องจากหมู่เกาะสิมิลัน เป็นเขตของอุทยานแห่งชาติ ดังนั้นการเข้าไปพัก จะต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบ ของกรมป่าไม้ การเดินทาง สู่หมู่เกาะสิมิลัน จะต้องเช่าเหมาลำ จากท่าเรือทับละมุ จังหวัดพังงา ซึ่งเป็นจุดที่ใกล้ที่สุด โดยจะใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง แต่เดี๋ยวนี้ เรือเร็วจากท่าเรือทับละมุ ก็มีให้เห็นกันบ้างแล้ว สนนราคาประมาณ สองพันบาทต่อคนสำหรับการโดยสาร เรือไปยังหมู่เกาะสิมิลัน จากจังหวัดภูเก็ต ก็เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง ที่มีความสะดวกสบายมาก โดยจะมีเรือโดยสารท่องเที่ยว แบบไปเช้ากลับเย็น ในราคาประมาณ พันกว่าถึงสองพันบาทต่อคน โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 3-4 ชั่วโมง สำหรับการเช่าเหมาลำ จากท่าเรือทับละมุ หากเป็นคณะใหญ่ ท่านสามารถเช่าเรือขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถบรรทุกคนได้ 30-60 คน แล้วแต่ชนิดของเรือ โดยราคาเช่าเหมาลำอยู่ที่ประมาณ 8,000- 20,000 บาทต่อวันสำหรับการเดินทางสู่ท่าเรือทับละมุโดยทางรถโดยสาร สามารถนั่งรถโดยสารจากกรุงเทพ ปลายทางตะกั่วป่า และนั่งรถท้องถิ่น(เรียกง่ายๆว่าสองแถว) เข้าไปยัง ท่าเรือทับละมุ อีกทีหนึ่ง ซึ่งไม่ไกลมากจากอำเภอตะกั่วป่าโดยทางเครื่องบิน สามารถโดยสารเครื่องบิน มาลงที่สนามบินภูเก็ต จากนั้น ก็เป็นเรื่องของการเช่ารถ หรือโดยสารถท้องถิ่น มาลงที่ตะกั่วป่า และท่าเรือทับละมุ โดยมีระยะทางจากภูเก็ตประมาณ 90 กิโลเมตรช่วงเวลาที่เหมาะสมฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ - เดือนพฤษภาคม ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม - เดือนตุลาคม อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 27 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์อยู่ในเกณฑ์สูงเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 83 % ปริมาณน้ำฝนแต่ละปีเฉลี่ย 3,560 มิลลิเมตร ปริมาณการระเหยของน้ำแต่ละปีเฉลี่ย 1,708 มิลลิเมตร ช่วงฤดูฝนเป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากจะทำให้ฝนตกหนักแล้ว ท้องทะเลยังมีคลื่นลมแรง ทำให้การเดินทางไปท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันในช่วงนี้ไม่ปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว ทางอุทยานฯ จึงกำหนดปิด-เปิดฤดูการท่องเที่ยวประจำปี ดังนี้ ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม - 14 พฤศจิกายน ของทุกปี เปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน - 15 พฤษภาคม ของทุกปี ที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวกบนเกาะสี่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของอุทยาน จะมีบ้านพักรับรอง นักท่องเที่ยวได้พอสมควร และมีเต๊นท์ให้บริการด้วยเช่นกัน สำหรับการติดต่อที่พัก สามารถติดต่อได้โดยตรง โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกรมป่าไม้ สำหรับอาหารการกิน ทางอุทยาน มีโรงอาหารบริการนักท่องเที่ยว โดยเพื่อไม่เป็นการประมาท นักท่องเที่ยวควรจองที่พักพร้อมอาหารให้เรียบร้อยสำหรับไฟฟ้า จะมีไฟปั่น เพื่อให้แสงสว่าง ในยามค่ำคืน เท่านั้น โดยจะปิดช่วงหลังเที่ยงคืน ส่วนห้องนอนแบบห้องสูท หรือห้องสวีทนั้น คงไม่มีให้ท่านแน่นอน และหากท่านไม่มีการติดต่อล่วงหน้ามาก่อน ท่านอาจจะไม่ได้ห้องพัก หรืออาหาร แม้แต่จะนอนเต๊นท์ก็ตาม(หมายเหตุ - ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากเวปไซท์ ของกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ เพื่อการประชาสัมพันธ์)

ไม่มีความคิดเห็น: